กมล เดชะตุงคะ
กมล เดชะตุงคะ | |
---|---|
ประธานรัฐสภาไทย และ ประธานสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน | |
ดำรงตำแหน่ง 22 ตุลาคม – 20 พฤศจิกายน 2519 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
ก่อนหน้า | อุทัย พิมพ์ใจชน |
ถัดไป | พลอากาศเอก หะริน หงสกุล |
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม 2519 – 30 กันยายน 2520 | |
ก่อนหน้า | พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ |
ถัดไป | พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ |
ผู้บัญชาการทหารอากาศ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม 2517 – 30 กันยายน 2520 | |
ก่อนหน้า | พลอากาศเอก บุญชู จันทรุเบกษา |
ถัดไป | พลอากาศเอก พะเนียง กานตรัตน์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 21 มิถุนายน พ.ศ. 2460 จังหวัดสมุทรปราการ ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 (84 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | คุณหญิงมนัส เดชะตุงคะ |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองทัพบกไทย กองทัพเรือไทย กองทัพอากาศไทย |
ประจำการ | พ.ศ. 2478 – พ.ศ. 2520 |
ยศ | พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก[1] |
บังคับบัญชา | กองทัพไทย |
พลอากาศเอก กมล เดชะตุงคะ (21 มิถุนายน พ.ศ. 2460 – 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2545) อดีตประธานรัฐสภา อดีตประธานสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ อดีตผู้บัญชาการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ ของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ในการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2519[2]
ประวัติ
[แก้]พลอากาศเอก กมล เดชะตุงคะ เกิดวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2460 ที่อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นบุตรของร.ท.เป้า และนางเขียน เดชะตุงคะ สมรสกับ คุณหญิงมนัส เดชะตุงคะ มีบุตร-ธิดา รวม 7 คน เป็นหญิง 3 คน ชาย 4 คน
การศึกษา
[แก้]พลอากาศเอก กมล เดชะตุงคะ จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบก โรงเรียนการบิน บน.1 และได้เข้ารับการศึกษาในต่างประเทศ คือ โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศอเมริกา และโรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศอังกฤษ นอกจากนั้นยังเคยผ่านการศึกษาอบรมจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร เมื่อปี พ.ศ. 2498
ยศทางทหาร
[แก้]พลอากาศเอก กมล เดชะตุงคะ เริ่มรับราชการทหารชั้นยศ "ร้อยตรี" เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2478[3] จนกระทั่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในชั้นยศ "พลอากาศเอก" เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2510 จนกระทั่งวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519 ได้รับพระราชทานยศ "พลเอก พลเรือเอก"[4] จนเกษียณอายุราชการในปี พ.ศ. 2520
พลอากาศเอก กมล เดชะตุงคะ เคยได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารอากาศ ในระหว่างปี พ.ศ. 2517 ถึงปี พ.ศ. 2519 และเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด ในระหว่างปี พ.ศ. 2519 ถึงปี พ.ศ. 2520 และเคยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[5]
- 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2478 - ร้อยตรี
- 1 เมษายน พ.ศ. 2481 - โอนย้ายมารับราชการเป็นทหารอากาศพร้อมรับพระราชทานยศ เรืออากาศตรี[6]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]พลอากาศเอก กมล เดชะตุงคะ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของประเทศไทยและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของต่างประเทศต่างๆ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
[แก้]- พ.ศ. 2513 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2509 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
- พ.ศ. 2512 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[9]
- พ.ศ. 2484 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามอินโดจีน (ช.ส.)[10]
- พ.ศ. 2505 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)[11]
- พ.ศ. 2519 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 (ส.ช.)[12]
- พ.ศ. 2477 – เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ.ร.ธ.)[13]
- พ.ศ. 2511 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[14]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[15]
- พ.ศ. 2503 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[16]
- พ.ศ. 2525 – เหรียญสนองเสรีชน (ส.ส.ช.)
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]- ไต้หวัน :
- พ.ศ. 2505 – เครื่องอิสริยาภรณ์ยุนฮุย ชั้นที่ 2[18]
- สหรัฐ :
- พ.ศ. 2518 – ลีเจียนออฟเมอริต ชั้นผู้บังคับบัญชา
อ้างอิง
[แก้]- ↑ พระราชทานยศ
- ↑ คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ ๒
- ↑ ประกาศ พระราชทานยศทหาร (หน้า ๒๕๙๕)
- ↑ "พลอากาศเอก กมล เดชะตุงคะ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-04-12.
- ↑ "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญํติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.
- ↑ ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่องพระราชทานยศทหาร (หน้า ๔๔๕)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๖, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๓ ตอนที่ ๑๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔, ๑๙ ธันวาคม ๒๕๐๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เก็บถาวร 2022-11-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๔๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๘๓๗, ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๑๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ เก็บถาวร 2022-11-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๕๘๘, ๓ มิถุนายน ๒๔๗๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๘๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๙๑๓, ๘ กันยายน ๒๕๐๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๑๑๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๔ กันยายน ๒๕๑๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนามผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เก็บถาวร 2022-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๑๘๔, ๗ ตุลาคม ๒๔๗๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน เก็บถาวร 2022-05-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๘๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๑, ๓ ตุลาคม ๒๕๑๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๗ ตอนที่ ๖๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๙๕, ๑๔ ธันวาคม ๒๔๙๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-07-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๗ ตอนที่ ๕๘ ง หน้า ๑๗๓๑, ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๐๓
- ↑ http://theme.archives.go.kr/viewer/common/archWebViewer.do?bsid=200200021980&dsid=000000000005&gubun=search
- ↑ 18.0 18.1 ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๑๐๙ ง หน้า ๒๖๓๗, ๑๑ ธันวาคม ๒๕๑๑
ก่อนหน้า | กมล เดชะตุงคะ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ | ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (1 ตุลาคม พ.ศ. 2519 – 30 กันยายน พ.ศ. 2520) |
พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ | ||
พลอากาศเอก บุญชู จันทรุเบกษา | ผู้บัญชาการทหารอากาศ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2517 – 30 กันยายน พ.ศ. 2520) |
พลอากาศเอก พะเนียง กานตรัตน์ |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2462
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2545
- นักการเมืองไทย
- ประธานรัฐสภาไทย
- ทหารอากาศชาวไทย
- ผู้บัญชาการทหารอากาศไทย
- ผู้บัญชาการทหารสูงสุดไทย
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- รองประธานวุฒิสภาไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว. (ฝ่ายหน้า)
- บุคคลในประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์